Wy/th/อัตราค่าโดยสารรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
การจัดเก็บอัตราค่าโดยสารรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มี 2 รูปแบบหลัก ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เป็นผู้กำหนดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมสำหรับบริการพิเศษ เช่นรถที่ใช้ทางพิเศษ หรือรถบริการตลอดคืน
การจัดเก็บค่าโดยสารแบบอัตราเดียวตลอดสาย
[edit | edit source]การจัดเก็บค่าโดยสารแบบอัตราเดียวตลอดสายนี้ จะใช้สำหรับรถโดยสารประจำทางธรรมดา และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศขนาดเล็กของรถร่วมบริการ ตามตารางดังต่อไปนี้
การจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง
[edit | edit source]การจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง จะใช้สำหรับการโดยสารรถประจำทางปรับอากาศทุกประเภท โดยที่จะไม่มีค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติม ตามประเภทของรถดังตารางต่อไปนี้
- รถโดยสารประจำทางสีครีมแดง สาย 134 และ 145 เปลี่ยนจากการเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง เป็นเก็บค่าโดยสารคนละ 6.50 บาท ตลอดสาย เท่ากับรถโดยสารประจำทางสีครีมแดงสายอื่น ตั้งแต่ 19 ม.ค. 2559 เป็นต้นไป
ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
[edit | edit source]คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการพิเศษไว้ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมรถโดยสารที่ใช้ทางพิเศษ - จัดเก็บเพิ่มจากค่าโดยสารปกติ 2 บาท
- ค่าธรรมเนียมรถโดยสารบริการตลอดคืน - จัดเก็บเพิ่มจากค่าโดยสารปกติ 1.50 บาท (รถธรรมดา)
- ค่าธรรมเนียมรถโดยสารเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ บรมราชชนนี - จัดเก็บเพิ่มจากค่าโดยสารปกติ 2 บาท
- ค่าธรรมเนียมรถโดยสารเข้าสถานีรถโดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - จัดเก็บเพิ่มจากค่าโดยสารปกติ 10 บาท (รถปรับอากาศ)
เงื่อนไขการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง
[edit | edit source]ผู้ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
[edit | edit source]- ผู้ตรวจการขนส่ง
- พระภิกษุ สามเณร
- บุรุษไปรษณีย์ในเครื่องแบบ (ขณะปฏิบัติหน้าที่)
- ผู้ถือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- ผู้ถือบัตรหรือเหรียญตราของทางราชการ ที่ระบุไว้ว่ามีสิทธิยกเว้นค่าโดยสารประจำทาง
ผู้ได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคา
[edit | edit source]ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์(ธรรมดา) ของ ขสมก. มีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารได้ในอัตราพิเศษ ซึ่งเป็นอัตราที่หักจากค่าใช้จ่ายหมายถึงราคาต้นทุนเช่น ระยะทางต่ำสุดจาก 11 บาทเหลือ 8บาทเป็นต้น และสำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
- คนตาบอด ที่มีหนังสือรับรองของสมาคมคนตาบอด
- ทหาร ตำรวจ ในเครื่องแบบ
- ผู้ถือบัตรหรือเหรียญตราของทางราชการที่มีระเบียบระบุไว้ว่า มีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าโดยสารรถประจำทางครึ่งราคาเสียค่าโดยสารครึ่งราคา ดังนี้
- ผู้ถือบัตรประจำตัวเหรียญชัยสมรภูมิ และทายาท
- ผู้ถือบัตรประจำตัวเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป
- ผู้ถือบัตรประจำตัวเหรียญราชการชายแดน
- ผู้ถือบัตรประจำตัวเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- ผู้ถือบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการชั้นที่ 1 2 3 และ 4
- ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1
- ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการสนาม กรณีไปทำการรบในงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป กรณีพิพาทกับอินโดจีน กรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา กรณีสงครามเกาหลี และกรณีสงครามเวียดนาม
- ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
- ผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อมาใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถของผู้ประกอบการ ที่เดินรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- ผู้พิการที่ถือบัตรหรือสมุดคนพิการ
ราคาบัตรเดือนสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา
[edit | edit source]- นักเรียนในเครื่องแบบ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลงมา ให้เสียค่าโดยสาร 1 ใน 3 ของค่าโดยสารปกติ โดยให้ซื้อบัตรเดือนในอัตราค่าโดยสารเที่ยวเดียว คูณด้วย 44 สำหรับการโดยสารที่ไม่รวมวันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือคูณด้วย 52 สำหรับการโดยสารที่ไม่รวมวันอาทิตย์ ไป 1 เที่ยวต่อวัน เศษของเดือนให้คำนวณตามส่วน
- นักเรียนในเครื่องแบบ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบ หรือแสดงบัตร โดยใช้บัตรเดือนให้เสียค่าโดยสาร 2 ใน 3 และให้ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัตรเดือนตามข้อ 1
ค่าโดยสารครึ่งราคารวมค่าธรรมเนียมรถปรับอากาศธรรมดา (ครีม - น้ำเงิน / รถเมล์พ่วงสีขาว / รถเมล์ขาวใข้ก๊าซธรรมชาติ)
[edit | edit source]ค่าโดยสารรวม ค่าธรรมเนียม(บาท) | ค่าโดยสารครึ่งราคา รวมค่าธรรมเนียม(บาท) |
---|---|
12 บาท | 8 บาท |
14 บาท | 10 บาท |
16 บาท | 11 บาท |
18 บาท | 13 บาท |
20 บาท | 14 บาท |
ค่าโดยสารครึ่งราคารวมค่าธรรมเนียมรถปรับอากาศยูโรทู (สีส้ม)
[edit | edit source]ค่าโดยสารรวม ค่าธรรมเนียม(บาท) | ค่าโดยสารครึ่งราคา รวมค่าธรรมเนียม(บาท) |
---|---|
13 บาท | 9 บาท |
15 บาท | 11 บาท |
17 บาท | 12 บาท |
19 บาท | 13 บาท |
21 บาท | 15 บาท |
23 บาท | 16 บาท |
25 บาท | 18 บาท |
แหล่งข้อมูลอื่น
[edit | edit source]- การบริการ จากเว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ