Jump to content

Wn/th/ส.ว.เตรียมส่งตีความเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย

From Wikimedia Incubator
< Wn | th
Wn > th > ส.ว.เตรียมส่งตีความเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย

10 ธันวาคม พ.ศ. 2548 

ส.ว.เอ็นจีโอเตรียมยื่นตีความข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เพราะกระทบต่อเขตอำนาจแห่งรัฐไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่งกำลังศึกษาว่า การทำเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีผลบังคับใช่ไปตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 แล้วนั้น มีหลายมาตรการของข้อตกลง เป็นพันธะกรณีให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามหลายประการ ส่งผลให้ "เขตอำนาจแห่งรัฐ" เปลี่ยนแปลง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคสอง กำหนดให้ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ประเด็นที่น่าสงสัยว่ากระทบต่อเขตอำนาจรัฐ ได้แก่

  • การกำหนดให้ไทยต้องปรับลดอัตราภาษีศุลกากร และเพิ่มปริมาณโคาต้าสินค้านำเข้าตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง โดยรัฐบาลไม่สามารถกำหนดได้อย่างเป็นอิสระ
  • กำหนดให้ไทยต้องเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ด้านการลงทุนในแนวทางเสรีมากขึ้น โดยที่รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายลักษณะจำกัดการเปิดเสรีได้อีกต่อไป
  • ให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนระบบศาล ในกรณีข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนออสเตรเลียกับรัฐบาลไทย ฯลฯ

ทั้งนี้ เทียบเคียงได้กับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 33/2543 ลงวันที่ 5 ต.ค.2543 เห็นว่า อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนังสือสัญญาที่มีบท "เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจแห่งรัฐ" ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคสอง โดยอธิบายว่า

"พิจารณาอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 1 แล้ว หมายความว่า รัฐภาคีต้องเอื้ออำนวยให้รัฐภาคีอื่นเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมของตน และพยายามไม่กำหนดข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทาง ชีวภาพ พยายามไม่กำหนดข้อจำกัดการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งสรุปได้ว่าต้องเอื้ออำนวยให้รัฐภาคีอื่นได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพ ยากรพันธุกรรมของตนได้ด้วย เท่ากับเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจแห่งรัฐในการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมของตน ซึ่งเดิมมีอำนาจอธิบไตยอย่างสมบูรณ์... "

แต่รัฐบาลกลับพิจารณาว่า "เขตอำนาจแห่งรัฐ" เป็นเพียงเขตหรือพื้นที่ในทะเลซึ่งอยู่นอกเขตแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศรับร องไว้ 200 ไมล์ทะเลเท่านั้น ทั้งที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตีความเป็นบรรทัดฐานไว้แล้ว

แหล่งที่มา

[edit | edit source]
  • -เขียนจากเอกสารยื่นตีความฉบับร่าง
เตือน บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่เพียงพอ และอาจมี ข้อมูลที่มิอาจยืนยันได้ โปรดช่วยปรับปรุงบทความนี้โดยใส่แหล่งอ้างอิงหรือลบเนื้อหาที่ไม่สามารถหาแหล่งอ้างอิงได้