Wy/th/นนทบุรี
นนทบุรี[1] เป็นจังหวัดหนึ่งใน 5 จังหวัดปริมณฑลของประเทศไทย ตั้งติดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นจังหวัดที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย จังหวัดนนทบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 622.38 ตารางกิโลเมตร จังหวัดออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝั่งตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง มีคูคลองสาขาขนาดต่างๆ เชื่อมโยงถึงกันหลายสาย ทำให้เหมาะแก่การทำสวนผลไม้และทำการเกษตรอื่นๆ และฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด อันเป็นเขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ งดงามไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตแบบไทย ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสพร้อมกับทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้เมืองหลวง และนอกจากนี้ยังมีการคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้จังหวัดนนทบุรีในวันนี้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
นนทบุรีนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนานถึงกว่า 400 ปี เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองนนทบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และในปี พ.ศ. 2179 สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ขุดคลองขึ้นใหม่ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของวัดท้ายเมือง ลัดไปทะลุยังวัดเขมา กลายเป็นเส้นทางไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ในปัจจุบัน กระทั่งในปี พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่าการที่แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น อาจทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดให้สร้างป้อมปราการไว้ ณ ปากแม่น้ำอ้อม และโปรดให้ย้ายศาลหลักเมืองและเมืองนนทบุรีมาอยู่ที่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนนทบุรีก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากเป็นเมืองที่อยู่ติดกับพระนครหลวง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อ บ้านตลาดขวัญ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนต่อมาในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์ และจัดตั้งเป็นจังหวัดของประเทศไทยโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
การแบ่งเขตการปกครอง
[edit | edit source]เมืองนนทบุรี พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองต่างๆหลายสาย วิถีชีวิต ริมน้ำตามธรรมชาติเป็นนิวาสถานของรัชกาลที่ 3 มีวัดวาอารามโบราณสถาน ที่สำคัญ ศาลากลางจังหวัดหลัง เก่าที่งดงามทางสถาปัตยกรรม แหล่งอนุรักษ์ รถเฟี๊ยตโบราณ อุทยานกาญจนาภิเษก โดดเด่นเป็นอุทยานทางน้ำ เป็นเมือง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชมสวนผลไม้แบบโบราณ |
บางกรวย อำเภอที่มีวัดวาอารามมากมาย สร้างขึ้นในยุคสมัยที่ต่างกัน แต่ก็ล้วนเป็นภาพสะท้อนเคียงคู่กับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติทั้งสิ้น และที่ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำบลมหาสวัสดิ์ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญ อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ดอก ไม้หอม และไม้ผล |
บางใหญ่ แหล่งรวมพันธุ์ไม้ต้นไม้ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ดอกไม้และสวนกล้วยไม้ สร้างความสุขความเพลิดเพลินได้อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ที่บางใหญ่ยังมี วัดสำคัญที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรสมบูรณ์ |
บางบัวทอง จุดหมายปลายทางที่กำลังได้รับความนิยมสูงอยู่ขณะนี้ เนื่องด้วยเป็นที่ตั้งของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ อันโดดเด่นด้วยพุทธศิลป์แบบจีนแท้และประดิษฐานองค์เทพสำคัญในลัทธิมหายาน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่วัดบางไผ่ และเลือกซื้อพันธุ์ไม้หลากชนิดโดยเฉพาะบัวกระด้ง |
ไทรน้อย มีตลาดน้ำไทรน้อย ที่เป็นแหล่งรวมสินค้าจำพวกอาหาร ผัก แฃะผลไม้ ไว้รอนักท่องเที่ยวได้ไปจับจ่ายซื้อหา และยังมีหมู่บ้านบอนสี ที่ปลูกบอนสีกว่า 100 สายพันธุ์ สวนเฟื่องฟ้า สวนกล้วยไม้ รอให้ไปเรียนรู้เยี่ยมชม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของวัดที่สร้างแบบผสมผสานระหว่างศิลปะความเชื่อแบบไทย มอญ และจีน |
ปากเกร็ด จุดเด่นของที่นี่ คือ "เกาะเกร็ด" ซึ่งเกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดปรมัยยิกาวาส ที่มีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย และยังมี กวานอาม่าน ที่เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ |
ทำความเข้าใจ
[edit | edit source]ประวัติศาสตร์
[edit | edit source]นนทบุรีนั้นเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้นดังปรากฎในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของ ลาลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า "สวนผลไม้ที่บางกอกนั้นมีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งโดยทวนขี้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา" ครั้งถึงปี พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรี ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ ตั้งศาลากลางขึ้นที่ปากคลองบางซื่อฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยบ้านบางขวาง ตำบลสวนใหญ่ ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์
ต่อมาใน พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ยกบ้านตลาดขวัญขึ้นเป็นเมืองนนทบุรี โดยตัวเมืองนนทบุรีแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ที่ ตําบลบางกระสอในปัจจุบัน โดยมีวัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่ทางราชการได้ใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) เป็นเขตเหนือ และ มีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้ และพ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมือง ไปทะลุออกหน้าวัดเขมา ทั้งนี้ เพราะเดิมทีนั้นแม่น้ําเจ้าพระยาไหลวกวนโดยเข้าแม่น้ําอ้อมไหลมา ทางบางใหญ่แล้ววกเข้าคลองบางกรวยข้างซอยวัดชะลอมาออกหน้าวัดเขมา ดังนั้นเมื่อขุดคลองลัด แล้วกระแสน้ําจึงเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ นานเข้าก็กลายเป็นแม่น้ําเจ้าพระยาใหม่ ในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมก็ตื้นเขิน กลายเป็นคลองไปในที่สุด และ เมื่อคราว สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2208 พระองค์ทรงเห็นว่า เมื่อแม่น้ําเจ้าพระยาเปลี่ยนทางเดินทําให้ข้าศึกเข้าประชิดพระนครได้ง่ายขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ําอ้อมในคราวเดียวกัน เมืองนนทบุรีจึงตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ําอ้อมตั้งแต่ นั้นมา จนกระทั่งถึงยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดฯ ให้รื้อป้อมและเมืองบางส่วนเพื่อนําอัฐ (เงิน) ไปสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติ และบางส่วนก็ถูกกระแสน้ำพัดเซาะพังทลายลงน้ำไป ปัจจุบันจึงเหลือแต่ศาลหลักเมืองเท่านั้น
นนทบุรีได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดของประเทศไทยโดยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 จนถึงปัจุบัน
ที่ตั้งตามภูมิศาสตร์
[edit | edit source]นนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร) ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ภูมิประเทศ
[edit | edit source]นนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก
ภูมิอากาศ
[edit | edit source]ภูมิอากาศของจังหวัดนนทบุรี เป็นแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน เนื่องจากลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีความแตกต่างของระดับพื้นดินเพียงเล็กน้อย สภาพภูมิอากาศ จึงมีลักษณะค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดพื้นที่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25.7 องศาเซลเซียส
ในส่วนปริมาณน้ำฝน นนทบุรีในปี พ.ศ. 2552 ปริมาณน้ำฝนวัดได้ประมาณ 1,674.2 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำฝน 309.5 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำฝน 268.2 มิลลิเมตรและเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำฝน 267.9 มิลลิเมตร โดยมีจำนวนวันที่ฝนตกทั้งสิ้น 139 วัน
การเดินทาง
[edit | edit source]การเดินทางมา
[edit | edit source]รถยนตร์
[edit | edit source]ถ้าคุณอยู่ที่กรุงเทพนั้น การเดินทางมาที่นนทบุรีนั้นถือเป็นเรื่องง่ายมาก โดยถ้าคุณใช้รถยนตร์นั้นควรไปตามถนนหลายสายที่นนทบุรีเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ เช่น ถนนงามวงศ์วาน ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง ถนนรัตนาธิเบศร์ ฯลฯ และมีถนนสายสำคัญภายในจังหวัด 11 สาย คือ
- ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหกสี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
- ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ-ท่าน้ำปทุมธานี
- ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคราย-สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ถนนนนทบุรี 1 ระหว่างศาลากลางจังหวัด-ถนนติวานนท์
- ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด-สี่แยกหลักสี่
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก-อำเภอไทรน้อย
- ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง ระหว่างแยกตลิ่งชัน-บางบัวทอง
- ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง-สุพรรณบุรี
- ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน-สามแยกวัดลานนาบุญ
- ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคราย-สะพานพระราม 5-ถนนตลิ่งชัน-บางบัวทอง
คู่มือเดินทางนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิท่องเที่ยวได้โดยเพิ่มข้อมูล