Wn/th/การชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

From Wikimedia Incubator
< Wn‎ | th
Wn > th > การชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

Template:Wn/th/ไม่เป็นกลาง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 

ในวันเสาร์ที่ 4 และวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่จะถึงนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เตรียมการจัดการร่วมชุมนุมใหญ่โดยสันติของรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ในหัวข้อ "การชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน และถวายฎีกา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่าน พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อกดดัน พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ลาออกจากตำแหน่ง

การเข้าร่วมการชุมนุม[edit | edit source]

กำหนดการของงาน[edit | edit source]

ในวันเสารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะจัดการชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในเวลา 13.00 น ที่ ลานพระบรมรูปทรงม้า และถวายฎีกาผ่าน พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในวันเดียวกัน

การเตรียมตัว[edit | edit source]

  1. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย
  2. ยาประจำตัว-ยาฉุกเฉิน
  3. เครื่องแต่งกาย
  4. โทรศัพท์มือถือ
  5. น้ำยาบ้วนปาก
  6. อาหาร-น้ำดื่ม
  7. กระเป๋าสารพัดประโยชน์
  8. อุปกรณ์เชียร์ห้องน้ำ

ข้อห้าม[edit | edit source]

  1. ห้ามพกพาอาวุธ
  2. เชื่อถือผู้นําการชุมนุม
  3. เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นที่จุดใด ห้ามเข้าไปมุง

ความเห็นจากฝ่ายรัฐบาล[edit | edit source]

พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี[edit | edit source]

right|thumb|พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (2 ก.พ.) ณ ทำเนียบรัฐบาล พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมายืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง และไม่กังวลกับการชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ โดยมี รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ อธิการบดี มอบกระเช้าดอกไม้จากคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เพื่อให้กำลังใจแก่นายกรัฐมนตรีในการทำงานต่อไป โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ จะพูดในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในเรื่องต่างๆ โดยจะอธิบายอย่างชัดเจนให้ประชาชนเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาสื่อบางฉบับเสนอข่าวบิดเบือนทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งนี้เห็นว่าสื่อต้องเป็นตัวกลางที่จะนำความจริงให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน พร้อมยอมรับว่าเหนื่อย แต่ต้องทำงานเพื่อส่วนร่วมก็จะทำอย่างเต็มที่ และขอให้คณะอาจารย์ประสิทธิประสานวิชาอย่างเต็มที่ ไม่ถูกใครชักจูงได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม ก่อนเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาล เย็นวันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า จะไม่ลาออกจากตำแหน่ง ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา และไม่กังวลกับการชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์นี้

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก[edit | edit source]

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวเกี่ยวกับ กลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ ที่จะเดินทางเข้ามาสู่กรุงเทพมหานครเพื่อร่วมความความไม่สงบในการชุมนุมในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่จะถึงนี้ โดยได้อ้างถึง น.พ.วิชัย ชัยจิตวนิชกุล ส.ส. อุดรธานี พรรคไทยรักไทย ที่ออกมาระบุว่า จะมีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขนอาวุธมาก่อความไม่สงบ ว่า จากการพิจารณาตามข้อเท็จจริงและหลักการปฏิบัติแล้ว มั่นใจว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะเดินทางมาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพราะความไม่คุ้นเคยกับพื้นที่และไม่น่าจะสะดวกในการปฏิบัติการ รวมถึงข่าวที่ว่ามีสมาชิกกลุ่มเจไอจำนวน 25 คน เข้ามาตั้งฐานทัพในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้หน่วยในพื้นที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและรายงานข้อมูลมาให้ทราบโดยตลอด จึงขอทุกฝ่ายไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องนี้ ผู้บัญชาการทหารบก ยังเห็นว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้มีปัญหาอยู่พอสมควรแล้ว จึงคิดว่าผู้ที่เดินขบวนและแกนนำส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และเป็นปัญญาชนในหลายด้าน คงไม่ทำให้บ้านเมืองบอบช้ำไปมากกว่านี้

ความเห็นจากฝ่ายนายสนธิ ลิ้มทองกุล[edit | edit source]

นายสนธิ ลิ้มทองกุล[edit | edit source]

นายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ได้ออกประกาศ "การชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ผ่านสื่อต่างๆ โดยมีใจความสำคัญ เพื่อเน้นยำถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ในการร่วมกันแสดงพลังมวลชน

นายสนธิ ยังได้กล่าวอีกว่า จะจัดงานชุมนุมอย่างสงบ สันติ อหิงสา และปราศจากอาวุท โดยมีจุดยืนที่ว่า ชาวไทยไม่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันปกครองประเทศ และจะไม่ทนให้รัฐบาลชุดนี้นำพาประเทศไทยเดินไปสู่หุบเหวแห่งหายนะได้อีกต่อไป

กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา[edit | edit source]

วันนี้ (2 ก.พ.) ที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มหาวิทยาลัยรังสิต ชมรมตุลาประชาธิปไตย ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ยกเครื่องเมืองไทย ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่?” โดยมีผู้ร่วมเสวนาจำนวนมาก แทบทั้งหมดเป็นอดีตแกนนำการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535

ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้แสดงจุดยืน ในการเป็นแนวร่วมกดดัน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบ หลังขายทรัพย์ของชาติและนำผลประโยชน์ใส่กระเป๋า และยังมั่นใจว่าพลังมวลชนไม่หวั่นแผนป่วนม็อบ 4 ก.พ.

แหล่งที่มา[edit | edit source]